วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้คนละแผ่น และที่อาจารย์แจกกระดาษยังไม่ครบ ยังมีคนที่ยังไม่กระดาษ
อาจารย์จึงอธิบายว่าถ้ากรดาษที่แจกไปไม่พอก็คือ.....กระดาษจะน้อยกว่าคน และที่กระดาษไม่พอก็ต้องนับจำนวนเพื่อนในห้องมีทั้งหมดกี่คน แจกไปแล้วทั้งหมดกี่คน และขาดอีกกี่คน และอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คบทุกคนซึิ่งจะเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบมากกว่าหรือน้อย การนับจำนวน 

- อาจารย์สอนเขียน Mind Mapping โดยให้วิเคราะห์ชื่อวิชาที่เรียน จะแยกออกเป็น 3 คำ คือ
1.การจัดประสบการณ 2.คณิตศาสตร์ 3.ปฐมวัย และอธิบายในห้วข้อต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง 

ทักษะที่ได้รับ
- การคิดวิเคราะห์
- การวางแผน
- การแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำการเขียน Mind Mapping มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน การสอบ หรือการวางแผนงานได้

บรรยากาศในห้องเรียน
- สนุกสนาน ไม่เครียดจนเกิน 

คุณธรรม จริยธรรม
- ตั้งใจเรียน
- ส่งงานตามเวลา

การประเมินวิธีการสอน
- อาจารย์สอนได้ละเอียดและเข้าใจง่าย อาจารย์ใจดีทำให้เรียนแล้วไม่เครียด



วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


สรุปบทความ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่ได้ฟังยังหนาวๆ ร้อนๆ แลัวสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่ ? คำตอบของคำถามข้างต้น นั่นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซิ่งเริ่มได้
ง่ายๆจากสิ่งรอบตัวนี่เอง ทักษะทางคณิตศาสตร์คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีการส่งเสริมต่างๆให้
กับเด็ก เราควรจะรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้าง เริ่มได้เมื่อไหร่ดี การเรียน
รู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมจะแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทาง
คณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะ สำหรับเด็กปฐมวัย 3-4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็ก
3 ขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอนว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างมันคืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสื่อ
สิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือ
สัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้วด้วยการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว
              คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็กๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ
ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
การแต่งกาย (การจับคู่เสื้อผ้า) การรับประทานอาหาร (คาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง (เวลา ตัวเลข เลขที่สัญญาณไฟ  ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) เชื่อหรือยังว่าคณิตศาสตร์มีจริงอยู่ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมใดๆที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ การจับคู่ การเปรียบเทียบ หรือ เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น

               การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การสัมผัส ได้กระทำจากการมีปฏิสัมพันธ์
กับเพื่อนและผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจากการจัดการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้

1. การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
-  การจัดหมวดหมู่
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
2. ทางด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน
-  การรู้ค่าของจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
3. ทางด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่ง
-  เข้าใจระยะ
-  การเข้าทิศทาง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
4. ทักษะทางด้านเวลา
- การเปรียบเียบในเรื่องเวลา
- การเรียงลำดับเหตุการณ์
- ฤดูกาล
  
อ้างอิงจาก : 1. เรียนคณิตศสตร์ด้วยการเล่น แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วรนาท รักสกุลไทย
                      2. นวัตกร ศศิธร Chocolate_cake (ผู้เขียนอาจารย์สิริมณี บรรจง)
 http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3979






บันทึกครั้งที่ 1 
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.


เนื้อหาการเรียน
- วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์แจกกระดาษ A4 มาให้เป็น 3 ส่วน 
 และให้เขียนจุดเด่นของตัวเอง เพื่อที่จะให้อาจารย์จำเราได้ แล้วอาจารย์ก็จะทาย
 ว่าคนนี้เป็น และสอบถามชื่อ ภูมิลำเนาและถามเรื่องอื่นๆ และอาจารย์ยังสอนเรื่อง
การแจกกระดาษ วิธีการแบ่งกระดาษ และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ

- อาจารย์ ให้ทำบล็อก เกี่ยวกับรายวิชานี้ โดยจะให้ทำในเรื่องของ บทความ ตัวอย่าง
การสอน และวิจัย และบอกรายละเอียดในการทำบล็อก การลิงค์ต่างๆในบล็อก

ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดวิเคราห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการหาทางแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำวิธีการที่อาจารย์สอนนั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่นการแจกกระดาษ
ยังไงให้พอดีกับคนที่รับ และหาวิธีการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ

บรรยากาศให้ห้องเรียน
-  การเรียนสนุกสนาน ไม่ตึงเครียด อาจารย์ใจดีและคอยชี้แนะแนวทางต่างๆ

คุณธรรม จริยธรรม
- ตั้งใจเรียน
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

การประเมินวิธีการสอนในห้องเรียน
- อาจารย์สอนในเรื่องของการใช้คณิตศาสตร์อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
คือสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เราได้ฝึกคิดวิเคราะห์ และหา
วิธีการแก้ไขปัญหานั้น